Translate

วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556

ประวัติอินเตอร์เน็ต



ประวัติความเป็นมา


เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ได้ถือกำเนิดมาในยุคของสงครามเย็นระหว่าง 2 ประเทศมหาอำนาจคือ สหรัฐ อเมริกา และรัสเซีย เนื่องจากกระทรวงกลาโหมของอเมริกาได้เกิดแนวความคิดที่ต้องการอยากจะให้ระบบ เครือข่ายในเรื่องคอมพิวเตอร์ของตนสามารถทำงาน และสั่งการได้เร็ว โดยไร้ซึ่งคนดูแล หากถูกข้าศึก โจมตีด้วยระเบิดปรมาณู ณ เมืองใดเมืองหนึ่ง หรือเกือบทั้งหมดก็ตาม ระบบคอมพิวเตอร์บางส่วนอาจ ถูกทำลายไป แต่ส่วนที่เหลือยังคงต้องสามารถปฏิบัติงานต่อเองได้ ด้วยเป้าหมายนี้เองจึงได้เกิดเป็นโครงการ วิจัยและพัฒนาระบบเครือข่ายดังกล่าวขึ้นมีชื่อเรียกว่า อาร์พา ARPA (Advanced Research Project Agency) และได้มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จนกลายมาเป็นเครือข่ายอินเตอร์เน็ตอย่างที่รู้จัก กันดีในปัจจุบัน

ต้นกำเนิดของอินเตอร์เน็ตได้พัฒนามาจาก อาร์พาเน็ต เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ การรับผิดชอบและควบคุมดูแลของอาร์พา สังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาอินเตอร์เน็ต เป็นทั้งเครือข่ายคอมพิวเตอร์และเครือข่ายของเครือข่าย ภายในประกอบไปด้วยเครือข่ายย่อยๆ เป็นจำนวนมากต่อเชื่อมกันอยู่ โดยใช้มาตรฐานเดียวกันหมด คือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet protocol) เป็นมาตรฐานที่ใช้สำหรับรองรับสายสื่อสารและฮาร์ดแวร์อันหลากหลายรูปแบบ รวมไปถึงสามารถรองรับโฮสต์จำนวนมากได้อย่างสบายๆ





ประวัติอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย


อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย แต่ในครั้งนั้นยังเป็นการเชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้าและไม่เป็นการถาวร จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สถาบันเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC),
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เข้าด้วยกันเรียกว่า "เครือข่ายไทยสาร"






แผนภาพอินเทอร์เน็ตฉบับวันที่ 11/06/2009









โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (NETWORK TOPOLOGY)


คือ การนำคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกันเพื่อประโยชน์ของการสื่อสารรูปแบบการจัดวางคอมพิวเตอร์ ซึ่งแต่ละแบบก็มีจุดเด่นที่ต่างกัน สามารถแบ่งตามลักษณะของการเชื่อมต่อหลักได้ดังนี้



1. เครือข่ายแบบบัส (bus topology)
เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยสายเคเบิ้ลยาว ต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ โดยจะมีคอนเน็กเตอร์เป็นตัวเชื่อมต่อ และอุปกรณ์เข้ากับสายเคเบิ้ล ในการส่งข้อมูล จะมีคอมพิวเตอร์ตัวเดียวที่สามารถส่งข้อมูลได้ การจัดส่งข้อมูลวิธีนี้จะต้องกำหนดวิธีการ ที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกัน เพราะจะทำให้ข้อมูลชนกัน

ข้อดี ของการเชื่อมต่อแบบบัส คือ ใช้สื่อนำข้อมูลน้อย ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย และถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใด เครื่องหนึ่งเสียก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบโดยรวม แต่มี
ข้อเสีย การตรวจจุดที่มีปัญหา กระทำได้ค่อนข้างยาก และถ้ามีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมากเกินไป จะมีการส่งข้อมูลชนกันมากจนเป็นปัญหา
ข้อจำกัด จำเป็นต้องใช้วงจรสื่อสารและซอฟต์แวร์เข้ามาช่วยเพื่อหลีกเลี่ยงการชนกันของสัญญาณข้อมูล และถ้ามีอุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่งเสียหาย อาจส่งผลให้ทั้งระบบหยุดทำงานได้



2. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน (ring topology)
เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ด้วยสายเคเบิลยาวเส้นเดียว ในลักษณะวงแหวน การรับส่งข้อมูลในเครือข่ายวงแหวน จะใช้ทิศทางเดียวเท่านั้น เมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งส่งข้อมูล มันก็จะส่ง ไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องถัดไป ถ้าข้อมูลที่รับมาไม่ตรงตามที่คอมพิวเตอร์เครื่องต้นทางระบุ มันก็จะส่งผ่านไปยัง คอมพิวเตอร์เครื่องถัดไปซึ่งจะเป็นขั้นตอนอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะถึงคอมพิวเตอร์ปลายทางที่ถูกระบุตามที่อยู่
ข้อดี ของโครงสร้าง เครือข่ายแบบวงแหวนคือ ใช้สายเคเบิ้ลน้อย และถ้าตัดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เสียออกจากระบบ ก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบเครือข่ายนี้ และจะไม่มีการชนกันของข้อมูลที่แต่ละเครื่องส่ง
ข้อจำกัด ถ้าเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย อาจทำให้ทั้งระบบหยุดทำงานได้



3. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว(Star Network)
เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เข้ากับอุปกรณ์ที่เป็น จุดศูนย์กลาง ของเครือข่าย โดยการนำสถานีต่าง ๆ มาต่อร่วมกันกับหน่วยสลับสายกลางการติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ ด้วยการ ติดต่อผ่านทางวงจรของหน่วยสลับสายกลางการทำงานของหน่วยสลับสายกลาง 

ข้อดี คือ ถ้าต้องการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ก็สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบต่อเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในระบบ
ข้อเสีย คือ ค่าใช้จ่ายในการใช้สายเคเบิ้ลจะค่อนข้างสูง และเมื่อฮับไม่ทำงาน การสื่อสารของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบก็จะหยุดตามไปด้วย ข้อจำกัด ถ้าฮับเสียหายจะทำให้ทั้งระบบต้องหยุดชะงัก และมีความสิ้นเปลืองสายสัญญาณมากกว่าแบบอื่นๆ



4. โครงสร้างเครือข่ายแบบผสม (Hybrid Topology)
คือ เป็นเครือข่ายที่ผสมผสานกันทั้งแบบดาว แบบวงแหวน และแบบบัส
เช่น วิทยาเขตขนาดเล็กที่ มีหลายอาคาร เครือข่ายของแต่ละอาคารอาจใช้แบบบัสเชื่อมต่อกับอาคารอื่นๆที่ใช้แบบดาว และแบบวงแหวน








ขอขอบคุณข้อมูลจาก

http://www.learners.in.th/blogs/posts/269480


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น