Translate

วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556

ประวัติอินเตอร์เน็ต



ประวัติความเป็นมา


เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ได้ถือกำเนิดมาในยุคของสงครามเย็นระหว่าง 2 ประเทศมหาอำนาจคือ สหรัฐ อเมริกา และรัสเซีย เนื่องจากกระทรวงกลาโหมของอเมริกาได้เกิดแนวความคิดที่ต้องการอยากจะให้ระบบ เครือข่ายในเรื่องคอมพิวเตอร์ของตนสามารถทำงาน และสั่งการได้เร็ว โดยไร้ซึ่งคนดูแล หากถูกข้าศึก โจมตีด้วยระเบิดปรมาณู ณ เมืองใดเมืองหนึ่ง หรือเกือบทั้งหมดก็ตาม ระบบคอมพิวเตอร์บางส่วนอาจ ถูกทำลายไป แต่ส่วนที่เหลือยังคงต้องสามารถปฏิบัติงานต่อเองได้ ด้วยเป้าหมายนี้เองจึงได้เกิดเป็นโครงการ วิจัยและพัฒนาระบบเครือข่ายดังกล่าวขึ้นมีชื่อเรียกว่า อาร์พา ARPA (Advanced Research Project Agency) และได้มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จนกลายมาเป็นเครือข่ายอินเตอร์เน็ตอย่างที่รู้จัก กันดีในปัจจุบัน

ต้นกำเนิดของอินเตอร์เน็ตได้พัฒนามาจาก อาร์พาเน็ต เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ การรับผิดชอบและควบคุมดูแลของอาร์พา สังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาอินเตอร์เน็ต เป็นทั้งเครือข่ายคอมพิวเตอร์และเครือข่ายของเครือข่าย ภายในประกอบไปด้วยเครือข่ายย่อยๆ เป็นจำนวนมากต่อเชื่อมกันอยู่ โดยใช้มาตรฐานเดียวกันหมด คือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet protocol) เป็นมาตรฐานที่ใช้สำหรับรองรับสายสื่อสารและฮาร์ดแวร์อันหลากหลายรูปแบบ รวมไปถึงสามารถรองรับโฮสต์จำนวนมากได้อย่างสบายๆ





ประวัติอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย


อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย แต่ในครั้งนั้นยังเป็นการเชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้าและไม่เป็นการถาวร จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สถาบันเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC),
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เข้าด้วยกันเรียกว่า "เครือข่ายไทยสาร"






แผนภาพอินเทอร์เน็ตฉบับวันที่ 11/06/2009









โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (NETWORK TOPOLOGY)


คือ การนำคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกันเพื่อประโยชน์ของการสื่อสารรูปแบบการจัดวางคอมพิวเตอร์ ซึ่งแต่ละแบบก็มีจุดเด่นที่ต่างกัน สามารถแบ่งตามลักษณะของการเชื่อมต่อหลักได้ดังนี้



1. เครือข่ายแบบบัส (bus topology)
เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยสายเคเบิ้ลยาว ต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ โดยจะมีคอนเน็กเตอร์เป็นตัวเชื่อมต่อ และอุปกรณ์เข้ากับสายเคเบิ้ล ในการส่งข้อมูล จะมีคอมพิวเตอร์ตัวเดียวที่สามารถส่งข้อมูลได้ การจัดส่งข้อมูลวิธีนี้จะต้องกำหนดวิธีการ ที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกัน เพราะจะทำให้ข้อมูลชนกัน

ข้อดี ของการเชื่อมต่อแบบบัส คือ ใช้สื่อนำข้อมูลน้อย ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย และถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใด เครื่องหนึ่งเสียก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบโดยรวม แต่มี
ข้อเสีย การตรวจจุดที่มีปัญหา กระทำได้ค่อนข้างยาก และถ้ามีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมากเกินไป จะมีการส่งข้อมูลชนกันมากจนเป็นปัญหา
ข้อจำกัด จำเป็นต้องใช้วงจรสื่อสารและซอฟต์แวร์เข้ามาช่วยเพื่อหลีกเลี่ยงการชนกันของสัญญาณข้อมูล และถ้ามีอุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่งเสียหาย อาจส่งผลให้ทั้งระบบหยุดทำงานได้



2. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน (ring topology)
เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ด้วยสายเคเบิลยาวเส้นเดียว ในลักษณะวงแหวน การรับส่งข้อมูลในเครือข่ายวงแหวน จะใช้ทิศทางเดียวเท่านั้น เมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งส่งข้อมูล มันก็จะส่ง ไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องถัดไป ถ้าข้อมูลที่รับมาไม่ตรงตามที่คอมพิวเตอร์เครื่องต้นทางระบุ มันก็จะส่งผ่านไปยัง คอมพิวเตอร์เครื่องถัดไปซึ่งจะเป็นขั้นตอนอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะถึงคอมพิวเตอร์ปลายทางที่ถูกระบุตามที่อยู่
ข้อดี ของโครงสร้าง เครือข่ายแบบวงแหวนคือ ใช้สายเคเบิ้ลน้อย และถ้าตัดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เสียออกจากระบบ ก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบเครือข่ายนี้ และจะไม่มีการชนกันของข้อมูลที่แต่ละเครื่องส่ง
ข้อจำกัด ถ้าเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย อาจทำให้ทั้งระบบหยุดทำงานได้



3. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว(Star Network)
เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เข้ากับอุปกรณ์ที่เป็น จุดศูนย์กลาง ของเครือข่าย โดยการนำสถานีต่าง ๆ มาต่อร่วมกันกับหน่วยสลับสายกลางการติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ ด้วยการ ติดต่อผ่านทางวงจรของหน่วยสลับสายกลางการทำงานของหน่วยสลับสายกลาง 

ข้อดี คือ ถ้าต้องการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ก็สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบต่อเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในระบบ
ข้อเสีย คือ ค่าใช้จ่ายในการใช้สายเคเบิ้ลจะค่อนข้างสูง และเมื่อฮับไม่ทำงาน การสื่อสารของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบก็จะหยุดตามไปด้วย ข้อจำกัด ถ้าฮับเสียหายจะทำให้ทั้งระบบต้องหยุดชะงัก และมีความสิ้นเปลืองสายสัญญาณมากกว่าแบบอื่นๆ



4. โครงสร้างเครือข่ายแบบผสม (Hybrid Topology)
คือ เป็นเครือข่ายที่ผสมผสานกันทั้งแบบดาว แบบวงแหวน และแบบบัส
เช่น วิทยาเขตขนาดเล็กที่ มีหลายอาคาร เครือข่ายของแต่ละอาคารอาจใช้แบบบัสเชื่อมต่อกับอาคารอื่นๆที่ใช้แบบดาว และแบบวงแหวน








ขอขอบคุณข้อมูลจาก

http://www.learners.in.th/blogs/posts/269480


วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556


Mister Donut … ตำนานแห่งความสำเร็จ



มิสเตอร์ โดนัท, แฮรี่ วินเนอร์ เคอร์, ขนม, โดนัท


มิสเตอร์ โดนัท เป็นผลผลิตที่ตกผลึกของ มิสเตอร์ แฮรี่ วินเนอร์ เคอร์ กำเนิดขึ้นครั้งแรกที่รัฐแมสซาชูเซท ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2498 จากกิจการเล็กๆระดับท้องถิ่น ก็เริ่มเติบโตสู่ระดับประเทศ ในระยะเวลาต่อมา มิสเตอร์ เซย์จิ ซูซูกิ ได้นำ มิสเตอร์ โดนัท เข้ามาในประเทศญี่ปุ่น ภายใต้ชื่อ บริษัท ดัสกิ้น จำกัด (Duskin Co., Ltd.) เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2514 ที่มิโน, โอซาก้า นับแต่นั้นมา ร้านมิสเตอร์ โดนัท ได้ขยายสาขาทั่วประเทศญี่ปุ่น จาก ฮอกไกโด ถึง โอกินาวา จนเป็นที่แพร่หลายได้ในระยะเวลาไม่นาน ทำให้ทุกคนต่างรู้จักชื่อของมิสเตอร์ โดนัทเป็นอย่างดีในปัจจุบัน


จุดเริ่มต้นของ มิสเตอร์ โดนัท ในประเทศไทย 


ในวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2521 คุณสุทธิชัย จิราธิวัฒน์ และคุณสุทธิเกียรติ จิราธิวัฒน์ ในนามของบริษัท ไทยแฟรนไชซิ่ง จำกัด สองพี่น้องผู้บุกเบิกตลาดโดนัทเป็นเจ้าแรกในประเทศไทย โดยนำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งได้เริ่มก่อตั้งสาขาแรกที่ สยามสแควร์ พร้อมกับมีการบริการกาแฟ ทำให้คนไทยหันมานิยมรับประทานโดนัทกันมากขึ้น โดยในภายหลัง มิสเตอร์ โดนัท อยู่ภายใต้การบริหารงานของบริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด หรือ CRG 

มิสเตอร์ โดนัท ในฐานะผู้นำตลาดโดนัทในประเทศไทย ยังคงมุ่งมั่นสร้างสรรค์โดนัทคุณภาพ ภายใต้สโลแกน “หลากหลายไอเดียอร่อย ... ที่มิสเตอร์ โดนัท” ด้วยการมอบความอร่อยของโดนัทแบบสดใหม่ที่ผลิตจากครัวเปิด เพื่อให้ลูกค้าได้พบกับผลิตภัณฑ์ ตลอดจนประสบการณ์ใหม่ๆ ในการเลือกลิ้มลองความหลากหลาย ซึ่งลูกค้าสามารถเลือกได้ด้วยตัวเอง ด้วยบริการแบบ self selection ในบรรยากาศที่อบอุ่น และเป็นกันเอง 


มิสเตอร์ โดนัท, แฮรี่ วินเนอร์ เคอร์, ขนม, โดนัท



สามทศวรรษแห่งความสำเร็จ และก้าวย่างแห่งการเปลี่ยนแปลง


ตลอดสามทศวรรษที่ผ่านมา มิสเตอร์ โดนัท ประเทศไทย ถือเป็นต้นกำเนิดของธุรกิจอาหารบริการด่วน โดยเป็นที่รู้จักและยอมรับในหมู่ผู้บริโภคชาวไทยอย่างกว้างขวาง จนในปัจจุบันได้ขยายสาขาถึง 200 แห่งทั่วประเทศไทย ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มิสเตอร์ โดนัท ได้มีวิวัฒนาการรูปลักษณ์ของร้านให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่องหลากหลายรูปแบบ 

ปี 2521: มิสเตอร์ โดนัท สาขาสยามสแควร์ เปิดตัวเป็นสาขาแรกด้วยป้ายโลโก้หน้าร้านเป็นตัวอักษร มิสเตอร์ โดนัท สีแดงตัดกับสีขาวของพื้นหลังอย่างโดดเด่น ส่วนการตกแต่งร้านและการใช้สีสันเน้นความเรียบง่าย โดยการให้บริการเป็นไปในแบบ counter service 

ปี 2534: มิสเตอร์ โดนัท เริ่มเปิดตัวป้ายไฟโลโก้โทนสีเหลืองและสีแดงเพื่อเน้นความสดใส แต่การตกแต่งภายในร้านยังคงเน้นความเรียบง่าย 

ปี 2539: เริ่มมีการปรับเปลี่ยนการตกแต่งให้ทันสมัยมากขึ้น โดยการนำลายกราฟฟิกรูปโดนัทมาใช้ในการตกแต่งร้าน และเน้นสีสันที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อสร้างบรรยากาศให้เป็นกันเองเต็มไปด้วยความสุข

ปี 2545: มิสเตอร์ โดนัท ได้สร้างสรรค์ประสบการณ์ใหม่ ๆ ในการเลือกลิ้มลองความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ ซึ่งลูกค้าสามารถเลือกอร่อยได้ด้วยตัวเอง ด้วยบริการแบบ self selection 

ปี 2547: มีการปรับเปลี่ยนเพื่อเน้นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของมิสเตอร์ โดนัท ด้วยลักษณะของร้านแบบ “Micro Kitchen” หรือร้านแบบครัวเปิด ที่ลูกค้าสามารถมองเห็นกรรมวิธีการผลิตโดนัทอย่างพิถีพิถันตลอดทุกขั้นตอน พร้อมสัมผัสถึงกลิ่นหอมและรสชาติที่อร่อยสดใหม่จากเตาในแบบฉบับของมิสเตอร์ โดนัทที่ไม่เหมือนใคร

ปี 2551: มิสเตอร์ โดนัท มีสาขาครบ 200 สาขา ณ เซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ ซึ่งเป็นการปรับโฉมรูปแบบร้านใหม่หมด ภายใต้ Concept “ Casual and Relaxing At Home ” โดยนำต้นแบบการตกแต่งร้านมาจาก ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเน้นการตกแต่งทั้งภายใน ภายนอกด้วยโทนสีอบอุ่น และปรับบรรยากาศภายในร้านให้รู้สึกเหมือนรับประทานอยู่ที่บ้าน พร้อมกับครอบครัว และป้ายไฟโลโก้ หน้าร้านได้เปลี่ยนเป็นโทนสีน้ำตาลเข้มและสีแดงอมส้ม 


มิสเตอร์ โดนัท, แฮรี่ วินเนอร์ เคอร์, ขนม, โดนัท



หลากหลายไอเดียอร่อย


มิสเตอร์ โดนัท ไม่เพียงแต่พัฒนารูปลักษณ์การตกแต่งร้านเท่านั้น แต่ยังคงยึดมั่นในมาตรฐานคุณภาพสินค้า และมอบบริการที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้า พร้อมกับพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง ปัจจัยสำคัญที่ทำให้มิสเตอร์ โดนัท ประสบความสำเร็จ คือ การสร้างความแตกต่าง ด้วยการพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ให้มีความหลากหลายเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่อง 

มิสเตอร์ โดนัท ประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูงกับผลิตภัณฑ์ Pon De Ring (พอน เดอ ริง) “ของแท้ต้องที่มิสเตอร์ โดนัท” ซึ่งได้รับความนิยมมาตลอด นับตั้งแต่เริ่มออกจำหน่ายในประเทศไทยเมื่อปี 2547 ด้วยเอกลักษณ์ในความนุ่มหนึบ ความยืดหยุ่นของเนื้อแป้ง และดีไซน์เป็นปล้องคล้ายดอกไม้ ทำให้มีความแปลกใหม่แตกต่างไปจากโดนัทแบบเดิม 

อีกหนึ่งความสำเร็จของ มิสเตอร์ โดนัท คือ Angel Egg (แองเจิ้ล เอ็ก) โดนัทรูปไข่ สูตรใหม่ ไม่เหมือนใคร อร่อยด้วยเนื้อแป้งบางเบา สอดไส้ครีมนุ่มทุกคำ ซึ่งเป็นสูตรเฉพาะของมิสเตอร์ โดนัท ทำให้ Angel Egg (แองเจิ้ล เอ็ก) เป็นหนื่งในสินค้าที่ลูกค้าชื่นชอบเป็นอย่างมาก 

นอกจากนี้ มิสเตอร์ โดนัท ยังประสบความสำเร็จกับผลิตภัณฑ์ล่าสุด มิสเตอร์ โดนัท ซากุ ซากุ ซึ่งเป็นโดนัทฮอตฮิตจากญี่ปุ่น ด้วยเนื้อแป้งกรอบ กรุบ หอมนุ่มโดนใจ ใครหลาย ๆ คน 

ในโอกาสฉลองการเปิดสาขาที่ 200 ของ มิสเตอร์ โดนัท ที่สาขาเซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ มิสเตอร์ โดนัท ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพของทุกผลิตภัณฑ์ต่อไปให้เป็นที่พึงพอใจสูงสุดของลูกค้า และรักษาความเป็นผู้นำตลาดด้วยมาตรฐานความอร่อย และคุณภาพระดับโลก ด้วยโดนัทในรูปแบบและรสชาติที่หลากหลายกว่า 50 ชนิด พร้อมเมนูใหม่ๆที่หลากหลายอื่นๆอีกมากมาย


มิสเตอร์ โดนัท สาขาที่ 200 – เปิดมิติใหม่แห่งความอร่อย 


มิสเตอร์ โดนัท สาขาเซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ ซึ่งเป็นการปรับโฉมรูปแบบร้านใหม่หมด ภายใต้ Concept “ Casual and Relaxing At Home ” โดยนำต้นแบบการปรับเปลี่ยน และตกแต่งร้านมาจากมิสเตอร์ โดนัท ประเทศญี่ปุ่น เน้นการตกแต่งทั้งภายใน และภายนอกด้วยโทนสีอบอุ่น หรือ Earth Tone ซึ่งต้นแบบดังกล่าวประเทศญี่ปุ่นได้มีการทำวิจัยและ พบว่า เป็นแบบที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกผ่อนคลาย และสนุกสนาน และเมื่อรับประทานในร้าน จะรู้สึกเหมือนอยู่บ้านกับครอบครัว โดยลูกค้าสามารถใช้เวลาสบายๆในร้านได้มากขึ้น เป็นที่นัดหมาย หรือพบปะพูดคุยได้อีกด้วย นับได้ว่า มิสเตอร์ โดนัท สาขา เซ็นทรัล พลาซา แจ้งวัฒนะ ได้สร้างสรรค์ความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยใช้สาขาแห่งนี้เพื่อเป็นต้นแบบในอนาคต 

นอกจากนี้ยังได้เพิ่มจุดเด่นให้เฉพาะสาขาแจ้งวัฒนะด้วยการนำเสนอเมนูใหม่ ๆ ที่หลากหลาย เช่น ซุปไข่สาหร่าย, ครัวซองไก่รมควัน, ซั่นนี่ไซด์ มัฟฟิน, ซอฟ์ท ไอศกรีม กรีนที มิรากุ และโดนัท สูตรใหม่ที่มีความแปลกใหม่ในด้านรูปแบบ และรสชาติ แต่ยังคงความอร่อย สดใหม่ ตามสไตล์ของ “มิสเตอร์ โดนัท” ซึ่งจะผลิตขึ้นมาเป็นพิเศษเพื่อจำหน่ายที่สาขาแห่งนี้ที่เดียวเท่านั้น และเพื่อเป็นต้นแบบในการปรับปรุงสาขาอื่นในอนาคตต่อไป



ขอขอบคุณเจ้าของบล็อค มิสเตอร์ โดนัท … ตำนานแห่งความสำเร็จ